กระดานแสดงความคิดเห็น
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-15 (กระดานแสดงความคิดเห็น)
เว็บเพจหน้านี้สำหรับผู้ดูแลเท่านั้น
รหัส secure
=>
นำตัวอักษร สีขาวบนพื้นแดง มาป้อนในช่องนี้
edit_topic_password =>
<center><table width=90% border=0 bgcolor=#000080><tr><td><font color=white size=4>สรุปผลการสัมมนา มหกรรม KM โดย ฉะเชิงเทรา</td></tr></table><table width=90% bordercolor=#000080 border=1><tr><td bgcolor=white><br>จาก http://www.chachoengsao.go.th/ccsdb/index.php?option=com_content&task=view&id=990&Itemid=34<br /> โดย กลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. 038 - 512520 <br /> <br /> การสัมมนาในช่วงเช้า เป็นการกล่าวถึงการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบราชการไทย โดยวิทยากร จำนวน 3 คน คือ เลขาธิการสำนักงาน ก.พ.ร. ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และ นายวิจารณ์ พานิช จากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) โดยมี ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการสื่อสารพัฒนาการเรียนรู้ สคส. เป็นผู้ดำเนินรายการ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้<br /> (1) พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ม. 11 กำหนดให้ส่วนราชการต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาความรู้เพื่อให้ลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริม และผลักดันส่วนราชการให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยมีแนวทางปฏิบัติได้แก่ การสร้างระบบให้สามารถรับรู้ข่าวสารให้กว้างขวาง ประมวลผลความรู้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ส่งเสริม และพัฒนาความรู้ ความสามารถให้ข้าราชการเป็นผู้มีความรู้ในวิชาการสมัยใหม่ สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีคุณธรรม ตลอดจนสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมในหมู่ข้าราชการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อนำมาพัฒนาการปฏิบัติราชการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ<br /> (2) ความสำคัญของการจัดการความรู้ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์ รวมถึงการก้าวเข้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่และสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based Society) เป็นผลทำให้ผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานต้องเร่งปรับปรุงและพัฒนาการทำงานของตนเองให้มีขีดสมรรถนะและศักยภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะการให้ความสำคัญต่อการจัดการสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนหรือสินทรัพย์ที่ไม่สามารถจับต้องได้ (Intangible Assets) อย่างเป็นระบบ เช่น ข้อมูลสารสนเทศ ความรู้ ความจงรักภักดีต่อตราผลิตภัณฑ์ ฯลฯ เพื่อนำมาใช้ในกระบวนการสร้างคุณค่า (Value Creation) และเสริมสร้างขีดความสามารถในเชิงการแข่งขันขององค์กร<br /> (3) ประเภทของความรู้<br /> ความรู้มี 2 ประเภท คือ <br /> 1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในแต่ละบุคคล อันเกิดจากประสบการณ์ การสอนงาน การเรียนรู้ หรือพรสวรรค์ ซึ่งมักจะไม่ค่อยมีการถูกถ่ายทอดมาเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เป็นประเภทความรู้ที่สามารถแบ่งปันกันได้และเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการปฏิบัติงาน<br /> 2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ทางวิชาการ มีความเป็นวิทยาศาสตร์หรือเป็นเหตุผล มีการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างเป็นทางการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หนังสือ ตำรา บทความ เอกสาร คู่มือและรายงานต่าง ๆ <br /> ความรู้ทั้งสองประเภทนี้สามารถเปลี่ยนแปลงถ่ายเทไปมาระหว่างกันได้ตลอดเวลา โดยผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์ 4 รูปแบบ คือ กระบวนการทางสังคม (Socialization) กระบวนการภายนอก (Externalization) กระบวนการผสมผสาน (Combination) และกระบวนการภายใน (Internalization) <br /> (4) ความหมายของการจัดการความรู้<br /> (5) กระบวนการจัดการความรู้<br /> การจัดการความรู้ในองค์กร เป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยผ่านกระบวนการอย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้<br /> 1) สำรวจความรู้ คือ การร่วมกันกำหนดบ่งชี้ความรู้ที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขององค์กร<br /> 2) รวบรวมและพัฒนา คือ การสร้างและแสวงหาความรู้ที่ต้องการ โดยเฉพาะการระบุแหล่งความรู้ภายในองค์กร เช่น การคัดเลือกบุคคลผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร<br /> 3) จัดเก็บ สังเคราะห์ คือ การนำความรู้ที่รวบรวมได้มาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ รวมถึงการประมวลและกลั่นกรองความรู้ให้อยู่ในรูปแบบที่ง่ายและสะดวกต่อการนำไปใช้ประโยชน์<br /> 4) ถ่ายทอด คือ การทำให้คนในองค์กรสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ สร้างจิตสำนึกให้เกิดการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และเกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อไป<br /> (6) การจัดการความรู้เพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศ<br /> สำหรับการสัมมนาในภาคบ่าย เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ใน 3 หัวข้อ คือ<br /> (1) KM กับการพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) โดยการส่งเสริมการเกษตรและจังหวัดชุมพร <br /> (2) KM กับกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) โดยกรมชลประทาน กรมอนามัย และ สป.แรงงาน<br /> (3) KM กับการพัฒนาบุคลากร (HRD) โดยจังหวัดนครศรีธรรมราช กรมราชทัณฑ์ และกรมศุลากร (เอกสาร 3)<br /> (1) LO ตาม Model ของ Peter Senge มีลักษณะ<br /> - Shared Vision มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน<br /> - Term Learing เรียนรู้จากกันและกัน<br /> - Personal Mastery ใฝ่รู้ มุ่งมั่น พัฒนาตน<br /> - Mental Model ฝึกฝนสร้างแผนที่ความคิด<br /> - Systems Thinking ไม่ยึดติด เห็นความเชื่อมโยง (KM ทำให้ LO เป็นจริง)<br /> (2) KM ที่ประกอบผลสำเร็จ ต้องไม่ใช้ KM ที่ลอย ๆ แต่มีลักษณะ<br /> - เชื่อมข้างบนกับข้างล่าง โดยเชื่อม Strategy กับ HRD (มุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะของบุคลากร)<br /> - เชื่อมข้างซ้ายกับข้างขวา โดยเชื่อม Explicit กับ Tacit (เชื่อมหลักวิชาการ ทฤษฎี เข้ากับ ภูมิปัญญา เคล็ดวิชา ประสบการณ์ ปฏิภาณ และเทคนิค ลูกเล่นเฉพาะตัว)<br /> - เชื่อมข้างหน้ากับข้างหลัง โดยเชื่อม ระบบ กับ คน (นำระบบเทคโนโลยีไปปรับใช้กับการเรียนรู้ร่วมกันของคน)<br /> (3) สาเหตุที่ KM ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากองค์กรมักจะจัดการเฉพาะความรู้ที่เป็น Explicit มากกว่า Tacit<br /> (4) ลักษณะของหน่วยงานที่ก้าวสู่ LO<br /> - เปลี่ยนยุทธศาสตร์การทำงาน จากการสั่งการเป็นการเข้าไปสอนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ถ่ายทอดเทคโนโลยี เคารพ เห็นคุณค่าในตัวชาวบ้าน และการหาสะเก็ดของความสำเร็จ<br /> - ให้ถือว่าทุกกิจกรรมเป็นการเรียนรู้ พัฒนาคน สร้างนวัตกรรม และการพัฒนาองค์กร<br /> - การทำ KM โดยไม่ต้องพูด KM (KM Inside) <br /> สรุป<br /> กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัดใน ปี 2550 ตัวชี้วัดด้านระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้ เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ ยังคงต้องมีการดำเนินการในน้ำหนักร้อยละ 5 ขณะนี้อยู่ในระหว่างการกำหนดรายละเอียดการประเมินผลจากสำนักงาน ก.พ.ร. ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา จึงเห็นชอบให้เผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับ KM ให้ข้าราชการทุกหน่วยงานได้ทราบโดยทั่วถึง หากท่านใดต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม <br /> <br /> โดย กลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. 038 - 512520 <br /> <br><br></td></tr><tr><td align=right bgcolor=black><font color=white><small><b>จากคุณ :</b> บุรินทร์ <a href=mailto:></a><a title='61.90.155.5'>.</a><br> 07:51pm (5/01/07)</font></td></tr></table></center>